วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อะไร คือ สถาบันสังคม


         
               สถาบันทางสังคม มีลักษณะเป็นนามธรรม หมายถึง แนวทาง ปฏิบัติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีระเบียบแบบแผน ได้รับการยึดถือปฏิบัติจากสมาชิกของสังคม อย่างมั่นคงเป็นเวลานานพอสมควร สถาบันไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ เช่น สถาบันการศึกษา คือแบบแผนในการคิด การกระทำเกี่ยวกับการถ่ายทอด ความรู้ให้แก่สมาชิกในสังคม มีหลักสูตรการวัดผลและระเบียบปฏิบัติอื่น ๆ อย่างเป็นแบบแผน สถาบันการศึกษาจึงมิได้หมายถึง โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย


ประเภทของสถาบันทางสังคม

ในทางสังคมศาสตร์ แบ่งสถาบันทางสังคมเป็น 7ประเภทดังนี้
1. สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งของสังคม โดยได้วางแบบแผนสำหรับมนุษย์ในการปฏิบัติหน้าที่สนองความต้องการที่จำเป็น ของสังคม ในด้านการให้กำเนิดบุตร การอบรมสั่งสอนสมาชิกใหม่ของสังคม ในการเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ที่ยังเยาว์ ฯลฯ
2. สถาบันการปกครอง เป็นแบบอย่างของการคิด การกระทำ ในเรื่อง เกี่ยวกับการรักษาความสงบ การตัดสินใจร่วมกัน การบรรลุเป้าหมาย สถาบัน ครอบครัวครอบคลุมตั้งแต่งานของผู้ปกครอง หรือผู้มีอำนาจในสังคมตลอดทั้ง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ผู้นำการเลือกตั้ง ลัทธิการเมือง ฯลฯ
3. สถาบันศาสนา คือ แบบแผนของการคิด การกระทำในเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ ศาสนา ศรัทธาของมนุษย์ ไสยศาสตร์ ฯลฯ
4. สถาบันการศึกษา เป็นแบบแผนในการคิด การกระทำเกี่ยวกับเรื่องการให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิกใหม่ของสังคม ตลอดทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรม จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง สถาบันการศึกษาครอบคลุมถึงเรื่องการเรียนการสอน การสอบ การอบรม ฯลฯ
5. สถาบันเศรษฐกิจ เป็นแบบในการคิด การกระทำ เกี่ยวกับการผลิตสินค้า การผลิตอาหาร การแจกจ่ายสินค้า และการให้บริการแก่สมาชิกของสังคม สถาบันเศรษฐกิจครอบคลุมถึงกฎเกณฑ์ ข้อบังคับของลูกจ้าง นายจ้าง เจ้าของโรงงาน ธนาคาร ฯลฯ
6. สถาบันสื่อสารมวลชน เป็นแบบในการคิดการกระทำในเรื่องการ ติดต่อ หรือส่งข่าวสารข้อมูล ประสบการณ์บทบาทของสังคมในด้านต่าง ๆ ไปสู่ ประชาชน รวมทั้งให้ความรู้ ความเพลิดเพลินแก่บุคคลในสังคม คำว่า สื่อสารมวลชนหมายถึง หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
7. สถาบันนันทนาการ เป็นแบบแผนในการคิด การกระทำ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของสมาชิกในสังคม สถาบันนันทนาการครอบคลุมถึง ละคร ดนตรี กีฬา เช่น การเล่นตะกร้อ รำวง รำตัด เพลงโคราช ฯลฯ คำว่า นันทนาการหมายถึง กิจกรรมที่บุคคลสมัครใจเข้าร่วมกระทำเพื่อใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์และเมื่อ กระทำแล้วเกิดความสุขกายสบายใจ สนุกสนาน

สถานภาพและบทบาทของบุคคลในสังคม
สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลในสังคมที่ได้จากการ เป็นสมาชิก ของสังคม สถานภาพจะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อ ให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน บุคคลผู้หนึ่ง อาจจะมีหลายสถานภาพก็ได้ เช่น นาย ก. เป็นข้าราชการครู เป็นสามีของนาง ข. เป็นบิดาของเด็กชาย ค. เป็นต้น
ประเภทของสถานภาพ
1. สถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ วงศ์ตระกูล ลำดับที่ของการเป็นบุตร ฯลฯ
 2. สถานภาพที่ได้มาโดยการกระทำ ได้แก่ สถานภาพที่ได้มา ภายหลัง กำเนิด หรือได้มาเพิ่มเติมจากสถานภาพเดิม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง ตามเงื่อนไขในระบบเครือญาติ และความสามารถเฉพาะตัว เช่น
สถานภาพที่ได้จากการศึกษา เช่น ครู แพทย์ ฯลฯ สถานภาพที่ได้จากการสมรส เช่น สามี ภรรยา บิดา มารดา ฯลฯ
สถานภาพที่ได้จากรายได้ เช่น เศรษฐี คหบดี ฯลฯ
โลกปัจจุบันมีลักษณะเป็นสังคมเปิด บุคคลสามารถเลื่อนสถานภาพ ให้ตนเองหรือสังคมสูงขึ้นได้ เช่น จากลูกจ้างเลื่อนเป็นนายจ้าง จากคนจนเลื่อน เป็นเศรษฐี จากข้าราชการชั้นผู้น้อยเลื่อนเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
 ความหมายของบทบาท
บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่ และสิทธิของตนตามสถานภาพ ในสังคม เช่น นายทองมีสถานภาพทางสังคมเป็นครู นายทองย่อมมีบทบาทในการ อบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่นักเรียน นายแดงมีสถานภาพทางสังคมเป็นผู้ใหญ่บ้าน นายแดงย่อมมีบทบาทในการดูแลทุกข์สุขชาวบ้าน ให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน ตามสมควร
หน้าที่ของสถานภาพและบทบาท
1. ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่ระหว่างสมาชิก ตามความถนัดและ ความ สามารถ
2. ทำให้สมาชิกในสังคมรู้ถึงฐานะและความรับผิดชอบของตนเอง
3. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบ สมาชิกในสังคมปฏิบัติตามหน้าที่ ของตน ไม่ก้าวก่ายกัน
4. ทำให้สมาชิกแต่ละคน รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนตาม สถานภาพ และบทบาท